chanthima
วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554
งานแบนเนอร์
ชื่อศิลปิน 4 minute
แนวเพลง pop dance
คอนเซป smart girl
อารมณ์ ซ่า/สนุกสนาน/มั่นใจ
ฟ้อนที่ใช้ Broadway bt / impact / fixdsy
วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554
รูปแบบการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ในงานโฆษณา
รูปภาพแสดงว่าคนที่ไม่มีหัวคุยโทรศัพท์ซึ่งเป็นการใช้ภาพเหนือจริง
1. การอุปมาทางการเห็น (Visual Metaphor)
เป็นการอุปมาเปรียบเทียบระหว่างรูปของเต้าเสียบไฟกับหมีแพนด้าซึ่งสื่อถึงทรัพยากรธรรมชาติ และพลังงานไฟฟ้าก็เป็นทรัพยากรธรรมชาติเช่นเดียวกัน ถ้าเรานำปลั๊กไฟไปเสียบกับเต้าเสียบก็เท่ากับเราใช้พลังงานไฟฟ้าและทรัพยากรธรรมธรรมชาติไปพร้อมกัน
เป็นการอุปมาเปรียบเทียบระหว่างรูปของเต้าเสียบไฟกับหมีแพนด้าซึ่งสื่อถึงทรัพยากรธรรมชาติ และพลังงานไฟฟ้าก็เป็นทรัพยากรธรรมชาติเช่นเดียวกัน ถ้าเรานำปลั๊กไฟไปเสียบกับเต้าเสียบก็เท่ากับเราใช้พลังงานไฟฟ้าและทรัพยากรธรรมธรรมชาติไปพร้อมกัน
2. การใช้ภาพเหนือจริง (Surrealism)
รูปภาพแสดงว่าคนที่ไม่มีหัวคุยโทรศัพท์ซึ่งเป็นการใช้ภาพเหนือจริง
3การสร้างความคิดผิดปกติจากของจริง( Violating Reality )
: โฆษณา กล้องถ่ายรุปที่เน้น คอนเซป ของผลิตภัณฑ์ ความสามารถในด้าน การ ซูม
ถ่ายภาพ ซูมลงมาจากเครื่องบิน
: โฆษณา กล้องถ่ายรุปที่เน้น คอนเซป ของผลิตภัณฑ์ ความสามารถในด้าน การ ซูม
ถ่ายภาพ ซูมลงมาจากเครื่องบิน
4.การรวมกันเข้าของสองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน(Morphing,Blending and Merging)
ภาพนี้สื่อให้เห็นว่ารถบรรทุกโฟร์คสวาเก้นมีขนาดเหมาะสมตามความต้องการใช้งานของคุณ
5 การใช้มุมกล้องแทนสายตาผู้ดูหรือผู้ถ่าย (Subjective Camera )
ภาพ จะ บังคับให้เรา ดู ส่วนขาของคนที่เล่นสไลเดอรืเป็นอันดับแรก หลังจาก นั้น จะ ภาพ จะ บีบ ให้เราดู ส่วน ต่างๆ ของ
สวนน้ำ
ภาพ จะ บังคับให้เรา ดู ส่วนขาของคนที่เล่นสไลเดอรืเป็นอันดับแรก หลังจาก นั้น จะ ภาพ จะ บีบ ให้เราดู ส่วน ต่างๆ ของ
สวนน้ำ
6. การล้อเลียน (Visual Parodies)
เป็นภาพล้อเลียน มาริโอ้ซึ่งเป็นHero ในการ์ตูน แต่อีกภาพหนึ่งไม่ใช่มาริโอ้ แต่มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งจะมีอะไรบางอย่างผิดแปลกไปจากเดิมหรือดูแปลกไปจากสิ่งที่เคยเห็น7. ภาพที่มีขนาดไม่ปกติ (Unusual Size)
เป็นภาพของเด็กกำลังกัดแตงโมที่มีขนาดใหญ่ แตงโมนั้นใหญ่เท่าเด็กหรืออาจใหญ่กว่าเด็ก
โรงพยาบาลกรุงเทพ
2. ข้อมูลเบื้องต้น (Background) / S W O T
ในอดีตนั้นโรงพยาบาลของรัฐมีน้อยไม่เพียงพอกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น โรงพยาบาลกรุงเทพจึงถือกำเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 จากความตั้งใจของคณะแพทย์และเภสัชกรที่มีอุดมการณ์ ปรารถนาที่จะให้บริการด้านการแพทย์และสุขภาพเพื่อรองรับผู้ป่วย ด้วยเตียงผู้ป่วยเพียง 100 เตียง พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและพยาบาล
โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ขยายเครือข่ายรวม 13 สาขา โรงพยาบาลครอบคลุมพื้นที่ให้บริการแทบทุกภูมิภาคของไทย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่และแหล่งท่องเที่ยว ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง บุคลากรมืออาชีพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ประสิทธิภาพสูง เพรียบพรัอมด้วยบริการฉุกเฉินและบริการพิเศษเหนือระดับ สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เพื่อสนองตอบทุกความต้องการของผู้ใช้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
วันนี้โรงพยาบาลกรุงเทพยึดมั่นคุณลักษณะดังกล่าวและนำมายกระดับการให้บริการทางการแพทย์ พร้อมด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย กับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ปรากฏภาพแห่งความสำเร็จเด่นชัดจากอัตราเติบโตทางธุรกิจของเรา ซึ่งยืนหยัดอย่างมั่นคงแข็งแรงในฐานะโรงพยาบาลเอกชนผู้ให้บริการทางการแพทย์ครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
จุดแข็ง : เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และเป็นสถานพยาบาลซึ่งประชาชนให้ความไว้วางใจและเชื่อมั่นในคุณภาพจุดอ่อน : ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลค่อนข้างสูง จึงทำให้กลุ่มเป้าหมายมีวงแคบอยู่ในผู้ที่มีสถานะทางการเงินค่อนข้างดี
โอกาส : สังคมในปัจจุบันผู้คนนั้นมีโรคประจำตัวกันค่อนข้างมาก ถ้าไปรักษาที่คลีนิคนั้นมักจะไม่มีแพทย์เฉพาะทาง ไม่เหมือนโรงพยาบาลกรุงเทพที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากกว่า
ปัญหา : เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันนี้ค่อนข้างแย่และโรงพยาบาลนี้เป็นโรงพยาบาลที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงจึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีสถานะทางการเงินที่สูงเท่านั้น
3. วัตถุประสงค์ (Objective)
3. วัตถุประสงค์ (Objective)
- เพื่อสร้างความมั่นใจในมาตรฐานและเลือกโรงพยาบาลกรุงเทพทำการรักษา
- เพื่อสร้างการรับรู้ในคุณสมบัติที่โดดเด่นทางสาขาสถานพยาบาล
4. กลุ่มเป้าหมายหลัก (Main Target)
ด้านกายภาพ
- ชาย/หญิง
- โสด/สมรส
- ไม่จำกัดอายุ
ด้านจินตภาพ
- เป็นคนที่มีโรคประจำตัว
5. แนวความคิด (Concept)
5. แนวความคิด (Concept)
- เพื่อสุขภาพที่ดีที่สุด6. เหตุผลสนับสนุนแนวคิด (Support)
เมื่อคุณได้เข้ามาทำการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งนี้คุณจะได้รับการรักษาที่ดีและการให้ความสำคัญแก่ผู้ป่วยที่มารักษาทุกท่าน
7. อารมณ์และความรู้สึก (Mood & Tone)
7. อารมณ์และความรู้สึก (Mood & Tone)
- สะอาด
- ปลอดภัย
8. ผลตอบสนอง (Desired response)
- เกิดความมั่นใจและตัดสินใจทำการรักษา
- เกิดความมั่นใจและตัดสินใจทำการรักษา
วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
การใช้ภาพเหนือจริง
1.ชื่อเรื่อง อย่าให้อุปสรรคใหญ่เกินตัวเรา 12call
2.ข้อมูลเบื้อต้น กบเป็นสัตว์ที่เล็กกว่าช้างจึงไม่ควรกลัวสัตว์ที่ใหญ่กว่า
3.วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ชมโฆษณานี้มีกำลังใจที่จะสู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าอุปสรรคจะใหญ่แค่ไหน
4.กลุมเป้าหมายหลัก ประชาชนทั่วไปที่เป็นลูกค้าของ12call และ AIS
5.แนวความคิด เพื่อให้เป้าหมายที่เป็นลูกค้าได้รู้สึกว่าเรามีความยิ่งใหญ่กว่าสิ่งที่คิดว่าเราใหญ่กว่าสิ่งนั้นไม่ต้องไปเกรงกลัวมัน
6.เหตุผลสนับสนุนแนวคิด เพื่อให้ทุกคนสู้และฟันฝ่าอุปสรรคต่อไปให้ได้
7.อารมณ์และความรู้สึก ทำให้รู้สึกว่าเราไม่กลัวอะไรเราต้องผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆได้
8.ผลตอบสนอง เราต้องการให้ผู้ที่ชมโฆษณาไม่หวั่นเกรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นแม้ว่าจะใหญ่แค่ไหน
วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
แนวโน้มการนำเสนองานทางนิเทศศาสตร์
แนวโน้มธุรกิจโฆษณาปี 53
แนวโน้มธุรกิจโฆษณาปี’53: เริ่มสดใส ... คาดมูลค่าตลาดเติบโตร้อยละ 6.7
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า แม้ในปี 2552 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมโฆษณาของไทยจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้มูลค่าตลาดรวมของอุตสาหกรรมโฆษณาของไทยหดตัวลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี อย่างไรก็ตาม สถานการณ์กลับฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งปีหลัง โดยตัวเลขการใช้งบโฆษณาผ่านสื่อเริ่มเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมต่อเนื่องจนถึงเดือนธันวาคม ส่งผลให้ภาพรวมเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ทั้งปี 2552 มีมูลค่า 90,217 ล้านบาท พลิกกลับมาเพิ่มขึ้นจากปี 2551 เล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1 เทียบกับที่เคยหดตัวถึงร้อยละ 5.1 ในช่วงครึ่งปีแรก
ทั้งนี้ การใช้งบประมาณที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว คาดว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจที่เริ่มดีขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ภาครัฐมีการใช้งบโฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทยเข้มแข็ง การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่เป็นโครงการขนาดใหญ่และต่อเนื่อง ประกอบกับปัญหาการเมืองในประเทศผ่อนคลายลง แม้จะมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุม แต่ก็ไม่มีเหตรุนแรงเหมือนช่วงต้นปี 2552 ทำให้ผู้ประกอบการมั่นใจในการลงทุนและกลับมาทำการตลาดเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภคอีกครั้ง นอกจากนี้ สาเหตุอีกส่วนหนึ่งน่าจะมาจากราคาค่าโฆษณาในสื่อบางประเภทที่มีการปรับราคา
เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว
เมื่อพิจารณาการใช้งบโฆษณาปี 2552 แยกตามประเภทสื่อแล้วพบว่า สื่อโฆษณาที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2551 นั้น ส่วนใหญ่เป็นสื่อสมัยใหม่ โดยเฉพาะสื่ออินเทอร์เน็ตที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50.6 ทั้งนี้ เนื่องมาจากสื่อสมัยใหม่เป็นสื่อที่มีต้นทุนต่ำกว่าสื่อหลักโดยเปรียบเทียบ และสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ตรงตามเป้าหมายได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่สื่อหลักมีเพียงสื่อโทรทัศน์เท่านั้นที่พลิกกลับมาเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ซึ่งน่าจะมาจากความต้องการใช้สูง และจากการปรับขึ้นของราคาค่าโฆษณาในบางช่องสถานี ทั้งนี้ แม้สื่อโทรทัศน์จะเติบโตในอัตราที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับสื่อสมัยใหม่ที่เติบโตเป็นเลขสองหลัก แต่ด้วย
มูลค่าการโฆษณาที่ครองส่วนแบ่งตลาดสื่อทั้งหมดอยู่เกือบร้อยละ 60 ก็ทำให้อุตสาหกรรมสื่อทั้งระบบฟื้นตัวขึ้นได้ในปีที่ผ่านมา
สำหรับในปี 2553 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าตลาดรวมของอุตสาหกรรมโฆษณาจะมีมูลค่าประมาณ 96,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 6.7 เนื่องจากเริ่มมีปัจจัยบวกมากขึ้น หลังเศรษฐกิจไทยมีสัญญาณการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นมาตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2552 จึงมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคเอกชน ทำให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น และทำให้ผู้ใช้งบโฆษณามีการใช้งบโฆษณามากขึ้นด้วย โดยการใช้งบประมาณเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดในปีที่ผ่านมา คาดว่าก็น่าจะยังเป็นกลุ่มที่มีการใช้งบโฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2553 ส่วนกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตปกติในปีที่ผ่านมา อาทิ กลุ่มค้าปลีกน่าจะได้รับแรงหนุนจากมหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลกที่จะเริ่มการแข่งขันในช่วงกลางปีนี้ ส่วนกลุ่มยานยนต์ที่มีอัตราการเติบโตลดลงอย่างมากในปีก่อนก็น่าจะฟื้นตัวขึ้นในปี 2553 จากการใช้งบเพื่อเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ เทคโนโลยีไฮบริด และอีโคคาร์
โฆษณาผ่านสื่อปี 2553: แนวโน้มสดใสรับเศรษฐกิจฟื้น ... สื่อสมัยใหม่ยังมาแรง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าสื่อที่มีอิทธิพลชี้นำทิศทางของตลาดโดยรวมในปี 2553 ยังคงเป็นสื่อหลักอย่างสื่อโทรทัศน์ที่มีเม็ดเงินโฆษณาสูงกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่ารวม ขณะที่สื่อสมัยใหม่ยังเป็นสื่อที่มีอัตราการเติบโตสูง และมีแนวโน้มมาแรงในปีนี้ แต่ด้วยเม็ดเงินหมุนเวียนที่รวมกันแล้วมีเพียง 11,741 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 13.0 ของเม็ดเงินโฆษณาโดยรวมในปี 2552 เท่านั้น จึงทำให้สื่อสมัยใหม่ยังไม่สามารถที่จะชี้นำทิศทางของอุตสาหกรรมโฆษณาในภาพรวมได้ โดยเฉพาะสื่ออินเทอร์เน็ตที่แม้ว่าจะเติบโตสูงถึงกว่าร้อยละ 50 แต่ก็มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2 ของมูลค่าโฆษณารวมในปี 2552
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เม็ดเงินโฆษณาโดยรวมในปี 2553 น่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน หรือมีมูลค่า 96,000 ล้านบาท โดยปัจจัยที่คาดว่าจะสนับสนุนการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมโฆษณา ที่สำคัญได้แก่
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น แม้ว่าจะยังต่ำกว่าในช่วงก่อนหน้าวิกฤตเศรษฐกิจก็ตาม (ล่าสุด IMF ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกอาจจะขยายตัวร้อยละ 3.1 ในปี 2553 ส่วนเศรษฐกิจไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.5-3.5 ซึ่งดีขึ้นกว่าปี 2552 ที่คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 3.1)
มหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2553 ที่มีความเป็นไปได้ว่ากลุ่มเจ้าของสินค้าและบริการที่ไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการในฟุตบอลโลกครั้งนี้หลายรายน่าจะพยายามสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมกับฟุตบอลโลกด้วยการใช้กลยุทธ์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค ทำให้ทิศทางของธุรกิจโฆษณาในปี 2553 น่าจะมีทิศทางการปรับตัวดีขึ้นกว่าในปีที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จากในปี 2545 ที่เศรษฐกิจไทยเติบโตอยู่ในภาวะปกติและเป็นปีที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลกด้วย ส่งผลให้มีการโฆษณาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มหกรรมการแข่งขันบอลโลกครั้งถัดมาในปี 2549 ในช่วงที่
เศรษฐกิจเพิ่งฟื้นตัว ก็ช่วยหนุนให้มีการใช้งบโฆษณาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เทียบกับที่เคยเติบโตเพียงร้อยละ 1.7 ในปีก่อนหน้า
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นตั้งแต่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 จึงทำให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ จากภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่ดีขึ้นเป็นลำดับ และความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า น่าจะทำให้เม็ดเงินโฆษณาในปี 2553 กลับมาเติบโตได้ในสื่อทุกประเภท โดยคาดว่าสื่อโทรทัศน์ยังคงเป็นสื่อที่มีสัดส่วนของมูลค่าโฆษณาสูงที่สุดเช่นเดิม และมีแนวโน้มว่าจะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.5 เนื่องจากสื่อโทรทัศน์ถือเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกกลุ่มอย่างทั่วถึงและสามารถ
กระตุ้นให้ผู้บริโภคสนใจได้ง่าย อีกทั้งยังคงได้รับความนิยมจากผู้ประกอบการสินค้าอยู่ ประกอบกับมีความเป็นไปได้ว่าในปี 2553 สื่อโทรทัศน์อาจจะมีการปรับเพิ่มอัตราค่าเช่าเวลาโฆษณา ส่วนสื่อหลักอื่นๆ ทั้งกลุ่มสื่อวิทยุและสิ่งพิมพ์น่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น
ขณะที่สื่อสมัยใหม่ โดยเฉพาะสื่อดิจิตอล ซึ่งรวมถึงสื่ออินเทอร์เน็ต และอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ก็คาดว่ายังคงมีอัตราการเติบโตสูง เนื่องจากตลาดยังมีความต้องการใช้ เพราะสามารถเข้าถึงตัวผู้บริโภคได้ง่ายจากกระแสโลกเครือข่ายสังคมออนไลน์ และมีราคาถูกกว่าสื่อในช่องทางอื่นๆ โดยเปรียบเทียบ อย่างไรก็ตาม เม็ดเงินโฆษณายังคงไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับสื่อหลัก นอกจากนี้ สื่อเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม ก็เป็นสื่ออีกประเภทหนึ่งที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจใช้เป็นช่องทางการโฆษณาในยุคปัจจุบัน และกำลังมาแรงเช่นกัน โดยปัจจุบันสื่อดาวเทียมครอบคลุมผู้ชมที่เป็นสมาชิกประมาณ 3.6 ล้านครัวเรือน และมีเป้าหมายขยายฐานสมาชิกผู้ชมให้ได้ 5 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศภายในสิ้นปี 2554 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ชมที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และสามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง ทำให้สื่อประเภทนี้เป็นที่น่าจับตามองเป็นพิเศษในปี 2553
อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาในปี 2553 จะมีทิศทางที่ดีขึ้น แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องระมัดระวัง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมโฆษณาในปี 2553 ได้ นอกเหนือจากทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่ยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่ ก็คือ ความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ ซึ่งหากเกิดความรุนแรง หรือมีปัญหาที่จะมีผลให้การดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณ และการดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอาจล่าช้าไป ก็อาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสะดุดหรือขาดความต่อเนื่อง จนผู้ประกอบการอาจจะต้องพิจารณาปรับลดงบโฆษณาผ่านสื่อลง
โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าตลาดรวมของอุตสาหกรรมโฆษณาในปี 2553 น่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ตามภาวะเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับในปี 2553 ยังมีหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลกที่มีความเป็นไปได้ว่า กลุ่มเจ้าของสินค้าและบริการที่ไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการในฟุตบอลโลกครั้งนี้หลายรายน่าจะพยายามสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมกับฟุตบอลโลกด้วยการใช้กลยุทธ์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค โดยสื่อที่คาดว่าน่าจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น คือ สื่อสมัยใหม่ โดยเฉพาะสื่อดิจิตอลที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วตามกระแสโลกเครือข่ายสังคมออนไลน์ แต่เม็ดเงินยังไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับสื่อหลัก ส่วนสื่อโทรทัศน์ คาดว่าน่าจะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อน และยังคงมีสัดส่วนเม็ดเงินโฆษณาสูงที่สุด แต่ขนาดของสัดส่วนต่อเม็ดเงินรวมอาจลดลงเนื่องจากมีสื่อใหม่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ประเด็นที่ต้องจับตามองต่อไป คือคู่แข่งของสื่อโทรทัศน์ที่กำลังมาแรงทั้งสื่อเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม เนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใกล้เคียงกัน ซึ่งคาดว่าจะเติบโตสูงในปีนี้ โดยได้รับอานิสงส์จากข้อจำกัดของเวลาโฆษณาในฟรีทีวีซึ่งถูกควบคุมให้ไม่เกิน 240 นาทีต่อวัน ทั้งนี้ จากแนวโน้มการโฆษณาที่เพิ่มขึ้น จึงนำไปสู่ภาวะการแข่งขันเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น สื่อที่สามารถปรับตัวทางธุรกิจแสดงให้เห็นความคุ้มค่าและความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีก็จะมีโอกาสเติบโตเหนือคู่แข่งได้ในที่สุด
แนวโน้มธุรกิจโฆษณาปี’53: เริ่มสดใส ... คาดมูลค่าตลาดเติบโตร้อยละ 6.7
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า แม้ในปี 2552 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมโฆษณาของไทยจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้มูลค่าตลาดรวมของอุตสาหกรรมโฆษณาของไทยหดตัวลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี อย่างไรก็ตาม สถานการณ์กลับฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งปีหลัง โดยตัวเลขการใช้งบโฆษณาผ่านสื่อเริ่มเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมต่อเนื่องจนถึงเดือนธันวาคม ส่งผลให้ภาพรวมเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ทั้งปี 2552 มีมูลค่า 90,217 ล้านบาท พลิกกลับมาเพิ่มขึ้นจากปี 2551 เล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1 เทียบกับที่เคยหดตัวถึงร้อยละ 5.1 ในช่วงครึ่งปีแรก
ทั้งนี้ การใช้งบประมาณที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว คาดว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจที่เริ่มดีขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ภาครัฐมีการใช้งบโฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทยเข้มแข็ง การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่เป็นโครงการขนาดใหญ่และต่อเนื่อง ประกอบกับปัญหาการเมืองในประเทศผ่อนคลายลง แม้จะมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุม แต่ก็ไม่มีเหตรุนแรงเหมือนช่วงต้นปี 2552 ทำให้ผู้ประกอบการมั่นใจในการลงทุนและกลับมาทำการตลาดเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภคอีกครั้ง นอกจากนี้ สาเหตุอีกส่วนหนึ่งน่าจะมาจากราคาค่าโฆษณาในสื่อบางประเภทที่มีการปรับราคา
เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว
เมื่อพิจารณาการใช้งบโฆษณาปี 2552 แยกตามประเภทสื่อแล้วพบว่า สื่อโฆษณาที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2551 นั้น ส่วนใหญ่เป็นสื่อสมัยใหม่ โดยเฉพาะสื่ออินเทอร์เน็ตที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50.6 ทั้งนี้ เนื่องมาจากสื่อสมัยใหม่เป็นสื่อที่มีต้นทุนต่ำกว่าสื่อหลักโดยเปรียบเทียบ และสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ตรงตามเป้าหมายได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่สื่อหลักมีเพียงสื่อโทรทัศน์เท่านั้นที่พลิกกลับมาเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ซึ่งน่าจะมาจากความต้องการใช้สูง และจากการปรับขึ้นของราคาค่าโฆษณาในบางช่องสถานี ทั้งนี้ แม้สื่อโทรทัศน์จะเติบโตในอัตราที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับสื่อสมัยใหม่ที่เติบโตเป็นเลขสองหลัก แต่ด้วย
มูลค่าการโฆษณาที่ครองส่วนแบ่งตลาดสื่อทั้งหมดอยู่เกือบร้อยละ 60 ก็ทำให้อุตสาหกรรมสื่อทั้งระบบฟื้นตัวขึ้นได้ในปีที่ผ่านมา
สำหรับในปี 2553 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าตลาดรวมของอุตสาหกรรมโฆษณาจะมีมูลค่าประมาณ 96,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 6.7 เนื่องจากเริ่มมีปัจจัยบวกมากขึ้น หลังเศรษฐกิจไทยมีสัญญาณการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นมาตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2552 จึงมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคเอกชน ทำให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น และทำให้ผู้ใช้งบโฆษณามีการใช้งบโฆษณามากขึ้นด้วย โดยการใช้งบประมาณเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดในปีที่ผ่านมา คาดว่าก็น่าจะยังเป็นกลุ่มที่มีการใช้งบโฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2553 ส่วนกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตปกติในปีที่ผ่านมา อาทิ กลุ่มค้าปลีกน่าจะได้รับแรงหนุนจากมหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลกที่จะเริ่มการแข่งขันในช่วงกลางปีนี้ ส่วนกลุ่มยานยนต์ที่มีอัตราการเติบโตลดลงอย่างมากในปีก่อนก็น่าจะฟื้นตัวขึ้นในปี 2553 จากการใช้งบเพื่อเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ เทคโนโลยีไฮบริด และอีโคคาร์
โฆษณาผ่านสื่อปี 2553: แนวโน้มสดใสรับเศรษฐกิจฟื้น ... สื่อสมัยใหม่ยังมาแรง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าสื่อที่มีอิทธิพลชี้นำทิศทางของตลาดโดยรวมในปี 2553 ยังคงเป็นสื่อหลักอย่างสื่อโทรทัศน์ที่มีเม็ดเงินโฆษณาสูงกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่ารวม ขณะที่สื่อสมัยใหม่ยังเป็นสื่อที่มีอัตราการเติบโตสูง และมีแนวโน้มมาแรงในปีนี้ แต่ด้วยเม็ดเงินหมุนเวียนที่รวมกันแล้วมีเพียง 11,741 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 13.0 ของเม็ดเงินโฆษณาโดยรวมในปี 2552 เท่านั้น จึงทำให้สื่อสมัยใหม่ยังไม่สามารถที่จะชี้นำทิศทางของอุตสาหกรรมโฆษณาในภาพรวมได้ โดยเฉพาะสื่ออินเทอร์เน็ตที่แม้ว่าจะเติบโตสูงถึงกว่าร้อยละ 50 แต่ก็มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2 ของมูลค่าโฆษณารวมในปี 2552
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เม็ดเงินโฆษณาโดยรวมในปี 2553 น่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน หรือมีมูลค่า 96,000 ล้านบาท โดยปัจจัยที่คาดว่าจะสนับสนุนการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมโฆษณา ที่สำคัญได้แก่
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น แม้ว่าจะยังต่ำกว่าในช่วงก่อนหน้าวิกฤตเศรษฐกิจก็ตาม (ล่าสุด IMF ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกอาจจะขยายตัวร้อยละ 3.1 ในปี 2553 ส่วนเศรษฐกิจไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.5-3.5 ซึ่งดีขึ้นกว่าปี 2552 ที่คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 3.1)
มหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2553 ที่มีความเป็นไปได้ว่ากลุ่มเจ้าของสินค้าและบริการที่ไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการในฟุตบอลโลกครั้งนี้หลายรายน่าจะพยายามสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมกับฟุตบอลโลกด้วยการใช้กลยุทธ์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค ทำให้ทิศทางของธุรกิจโฆษณาในปี 2553 น่าจะมีทิศทางการปรับตัวดีขึ้นกว่าในปีที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จากในปี 2545 ที่เศรษฐกิจไทยเติบโตอยู่ในภาวะปกติและเป็นปีที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลกด้วย ส่งผลให้มีการโฆษณาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มหกรรมการแข่งขันบอลโลกครั้งถัดมาในปี 2549 ในช่วงที่
เศรษฐกิจเพิ่งฟื้นตัว ก็ช่วยหนุนให้มีการใช้งบโฆษณาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เทียบกับที่เคยเติบโตเพียงร้อยละ 1.7 ในปีก่อนหน้า
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นตั้งแต่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 จึงทำให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ จากภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่ดีขึ้นเป็นลำดับ และความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า น่าจะทำให้เม็ดเงินโฆษณาในปี 2553 กลับมาเติบโตได้ในสื่อทุกประเภท โดยคาดว่าสื่อโทรทัศน์ยังคงเป็นสื่อที่มีสัดส่วนของมูลค่าโฆษณาสูงที่สุดเช่นเดิม และมีแนวโน้มว่าจะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.5 เนื่องจากสื่อโทรทัศน์ถือเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกกลุ่มอย่างทั่วถึงและสามารถ
กระตุ้นให้ผู้บริโภคสนใจได้ง่าย อีกทั้งยังคงได้รับความนิยมจากผู้ประกอบการสินค้าอยู่ ประกอบกับมีความเป็นไปได้ว่าในปี 2553 สื่อโทรทัศน์อาจจะมีการปรับเพิ่มอัตราค่าเช่าเวลาโฆษณา ส่วนสื่อหลักอื่นๆ ทั้งกลุ่มสื่อวิทยุและสิ่งพิมพ์น่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น
ขณะที่สื่อสมัยใหม่ โดยเฉพาะสื่อดิจิตอล ซึ่งรวมถึงสื่ออินเทอร์เน็ต และอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ก็คาดว่ายังคงมีอัตราการเติบโตสูง เนื่องจากตลาดยังมีความต้องการใช้ เพราะสามารถเข้าถึงตัวผู้บริโภคได้ง่ายจากกระแสโลกเครือข่ายสังคมออนไลน์ และมีราคาถูกกว่าสื่อในช่องทางอื่นๆ โดยเปรียบเทียบ อย่างไรก็ตาม เม็ดเงินโฆษณายังคงไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับสื่อหลัก นอกจากนี้ สื่อเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม ก็เป็นสื่ออีกประเภทหนึ่งที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจใช้เป็นช่องทางการโฆษณาในยุคปัจจุบัน และกำลังมาแรงเช่นกัน โดยปัจจุบันสื่อดาวเทียมครอบคลุมผู้ชมที่เป็นสมาชิกประมาณ 3.6 ล้านครัวเรือน และมีเป้าหมายขยายฐานสมาชิกผู้ชมให้ได้ 5 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศภายในสิ้นปี 2554 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ชมที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และสามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง ทำให้สื่อประเภทนี้เป็นที่น่าจับตามองเป็นพิเศษในปี 2553
อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาในปี 2553 จะมีทิศทางที่ดีขึ้น แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องระมัดระวัง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมโฆษณาในปี 2553 ได้ นอกเหนือจากทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่ยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่ ก็คือ ความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ ซึ่งหากเกิดความรุนแรง หรือมีปัญหาที่จะมีผลให้การดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณ และการดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอาจล่าช้าไป ก็อาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสะดุดหรือขาดความต่อเนื่อง จนผู้ประกอบการอาจจะต้องพิจารณาปรับลดงบโฆษณาผ่านสื่อลง
โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าตลาดรวมของอุตสาหกรรมโฆษณาในปี 2553 น่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ตามภาวะเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับในปี 2553 ยังมีหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลกที่มีความเป็นไปได้ว่า กลุ่มเจ้าของสินค้าและบริการที่ไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการในฟุตบอลโลกครั้งนี้หลายรายน่าจะพยายามสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมกับฟุตบอลโลกด้วยการใช้กลยุทธ์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค โดยสื่อที่คาดว่าน่าจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น คือ สื่อสมัยใหม่ โดยเฉพาะสื่อดิจิตอลที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วตามกระแสโลกเครือข่ายสังคมออนไลน์ แต่เม็ดเงินยังไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับสื่อหลัก ส่วนสื่อโทรทัศน์ คาดว่าน่าจะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อน และยังคงมีสัดส่วนเม็ดเงินโฆษณาสูงที่สุด แต่ขนาดของสัดส่วนต่อเม็ดเงินรวมอาจลดลงเนื่องจากมีสื่อใหม่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ประเด็นที่ต้องจับตามองต่อไป คือคู่แข่งของสื่อโทรทัศน์ที่กำลังมาแรงทั้งสื่อเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม เนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใกล้เคียงกัน ซึ่งคาดว่าจะเติบโตสูงในปีนี้ โดยได้รับอานิสงส์จากข้อจำกัดของเวลาโฆษณาในฟรีทีวีซึ่งถูกควบคุมให้ไม่เกิน 240 นาทีต่อวัน ทั้งนี้ จากแนวโน้มการโฆษณาที่เพิ่มขึ้น จึงนำไปสู่ภาวะการแข่งขันเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น สื่อที่สามารถปรับตัวทางธุรกิจแสดงให้เห็นความคุ้มค่าและความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีก็จะมีโอกาสเติบโตเหนือคู่แข่งได้ในที่สุด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)